Pharm CE
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ลงทะเบียนประชุมวิชาการ
    • ISO 19011 training
    • PM
    • Cosmetic2019
    • Designing Assessment System
    • Clinical Pharmacy Conference
    • Quality of Life
  • บทความวิชาการ
  • งานประชุมที่ผ่านมา
    • Download document_Vaccine
    • slid state 2018
    • HPTLC
    • Preclinical & Clinical Studies
    • สมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 2
    • ส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพ >
      • เอกสารประกอบการประชุม_ซักประวัติ
    • Multi-omics
    • Infectious_10th
    • Train_HPTLC
    • open house
    • CVS 10
    • spec 5
    • Tackling Formulation Challenges
    • Good Regulatory >
      • GRM handout
      • CV lecturer
    • Cosmetic
    • Plant Rabies
    • DIET MANAGEMENT
    • biosimilar
    • Vaccine for elderly >
      • จองห้องพัก Vaccine
    • CANCER IMMUNOTHERAPY
    • Protein-based Drugs
    • Symposium2
    • การดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
    • HERB4.0
    • OSPE
    • THE USE OF BIOINFORMATICS FOR PHYLOGENETIC ANALYSIS
    • 2_MicroProduct
    • The Influence of Solid State >
      • ขั้นตอนการชำระเงินค่าลงทะเบียน
      • ดาวน์โหลดเอกสาร
    • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เค >
      • ลงทะเบียน
      • กำหนดการ
      • การชำระเงินค่าลงทะเบียน
    • FUNDAMENTALS BEHIND PHARMACEUTICAL SPECIFICATION >
      • กำหนดการ
      • ลงทะเบียน
      • ขั้นตอนการชำระเงินค่าลงทะเบียน
      • ดาวน์โหลดเอกสาร
    • Pharmacotherapy in Cardiometabolic Diseases ครั้งที่ 9 >
      • กำหนดการ
      • ลงทะเบียน
      • การชำระเงินค่าลงทะเบียน
      • ดาวน์โหลดเอกสาร
      • ตรวจสอบรายชื่อการลงทะเบียน และการชำระ&#
    • การวิเคราะห์ทางภูมิคุ้มกันวิทยา: เทคโน& >
      • กำหนดการอบรม
      • ลงทะเบียน
      • วิธีการชำระเงิน
    • การรักษาและให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาผิ >
      • วิธีการชำระเงิน
    • Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 9 >
      • download documents
    • Plant - produced Biopharmaceuticals >
      • PARTICIPANTS REGISTRATION
      • download documents
    • Herbal Skin Care Products for Acne and Acne Scars >
      • download documents
    • Pain management >
      • กำหนดการ PAIN
      • วิธีชำระเงิน PAIN
  • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  • หน่วยงานเครือข่าย
  • ติดต่อเรา
Continuing Pharmacy Education, Pharm Chula​
Picture
ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม
จดหมายประชาสัมพันธ์โครงการ
ส่งเอกสารการชำระเงิน
ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียน
กำหนดการประชุม
Download เอกสาร

หลักการและเหตุผล

ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) เป็นศาสตร์การจัดการข้อมูลทางชีววิทยาซึ่งมีอยู่เป็นปริมาณมากเพื่อการประยุกต์ใช้ในการศึกษาด้านต่างๆ ทั้งนี้การศึกษาเกี่ยวกับชีวสารสนเทศมีจุดกำเนิดในปี พ.ศ. 2533 โดยโครงการการศึกษาจีโนมของมนุษย์ (The Human Genome Project) โดยการสนับสนุนของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติและกรมพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้โครงการนี้เป็นโครงการทางเทคโนโลยีทางชีวภาพที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของมวลมนุษยชาติ โดยได้รับความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อศึกษาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ในจีโนมของมนุษย์ และต่อมาได้เกิดการต่อยอดโครงการเพื่อศึกษาจีโนมในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น จีโนมข้าว จีโนมหนู จีโนมยีสต์ จีโนมของพืช Arabidopsis เป็นต้น
ในประเด็นความร่วมมือการพัฒนาการศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ควบคู่กันไปด้วยจนเป็นที่มาของศาสตร์แขนงใหม่ที่ผนวกความรู้หลายด้านทั้งทางชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือ ชีวสารสนเทศศาสตร์ ทั้งนี้การศึกษาในศาสตร์นี้จะอาศัยการนำผลการทดลองจากการวิจัยในห้องปฏิบัติการ บันทึกลงในฐานข้อมูลและเมื่อต้องการออกแบบการทดลองใหม่ก็นำข้อมูลดังกล่าวมาช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายสมมติฐาน หรือสร้างต้นแบบการทดลองใหม่ๆ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้การใช้ชีวสารสนเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม การออกแบบโมเลกุลยา รวมถึงการประยุกต์ใช้ในทางวิศวกรรเมแทบอลิก เป็นต้น
ในปัจจุบันมีนักวิจัยนำชีวสารสนเทศมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการศึกษาดีเอ็นเอบาร์โค้ดของสิ่งมีชีวิต การศึกษาฟังก์ชั่นและการแสดงออกของยีน การจัดจําแนกและการชี้เฉพาะสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตโดยเทียบความคล้ายคลึงจากลําดับเบส รวมถึงการสร้างแผนภาพต้นไม้แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตขึ้นมา ทั้งนี้การเรียนรู้พื้นฐานและความเข้าใจในการใช้ข้อมูลชีวสารสนเทศรวมทั้งจึงมีความสำคัญและเป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จในการทำงานของนักวิจัยทางด้านชีววิทยาโมเลกุล
ในการนี้ศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร่วมกับภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ชีวสารเทนเทศเพื่อการวิเคราะห์แผนภูมิวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ขึ้น เพื่อให้นักวิจัยได้เรียนรู้และเข้าใจในการนำเอาองค์ความรู้ชีวสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้กับการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการวิเคราะห์แผนภูมิวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

วัตถุประสงค์การอบรม

  1. อธิบายหลักการการใช้ชีวสารสนเทศศาสตร์ในการวิเคราะห์แผนภูมิวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
  2. ใช้เครื่องมือทางชีวสารสนเทศศาสตร์ในการวิเคราะห์แผนภูมิวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
  3. สามารถวิเคราะห์แผนภูมิวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต

กำหนดการ

อัตราค่าลงทะเบียน

การชำระเงิน

  • ค่าลงทะเบียนแบบบรรยาย    ​       ท่านละ 3,000 บาท 
  • ค่าลงทะเบียนแบบบรรยายและปฏิับัติการ  ท่านละ 5,000  บาท
โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารทหารไทย
​
ประเภทบัญชี  ออมทรัพย์         
เลขที่บัญชี    174-2-06587-1
ชื่อบัญชี “คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

**หมายเหตุ : เมื่อโอนเงินค่าลงทะเบียนผ่านเคาร์เตอร์ธนาคาร ในระบบของธนาคารจะพิมพ์ชื่อบัญชี เป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้PHARMACY.CU

วิธีการชำระเงินค่าลงทะเบียนงานประชุม

ส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน  ได้ที่  Email ce@pharm.chula.ac.th
​โปรดระบุด้วยว่าเป็นการอบรม ฺBio- analysis พร้อมระบุชื่อผู้เข้าร่วมอบรมลงในเอกสารการโอนเงิน 
ในกรณีที่ชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียนในทุกกรณี *ยกเว้นผู้จัดขอเลื่อนวันจัดประชุม
Powered by Create your own unique website with customizable templates.